รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ ชุด การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการวัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3 โดยใช้เทคนิค KWDL
ชื่อผลงาน รายงานการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ ชุด การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการวัดกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3 โดยใช้เทคนิค KWDL
ประวัติผู้วิจัย นางสาวพรทิพย์ สมบัติบุญ
ปีการศึกษา 2558
บทคัดย่อ
การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ ชุด การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการวัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3 โดยใช้เทคนิค KWDL ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์
1) เพื่อสร้างและพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะ ชุด การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการวัด กลุ่มสาระ
การเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3 โดยใช้เทคนิค KWDL ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์
80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชุด การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการวัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้เทคนิค KWDL
3) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้
แบบฝึกเสริมทักษะ ชุด การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการวัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3 โดยใช้เทคนิค KWDL
กลุ่มตัวอย่างใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3/4 โรงเรียน
อนุบาลพังงา อำเภอเมืองพังงา จังหวัดพังงา ประจำปี การศึกษา 2558 ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 35 คนที่ได้มาโดย การเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย
แบบฝึกเสริมทักษะ ชุด การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการวัด ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3 โดยใช้เทคนิค
KWDL แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการวัด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนและหลังเรียน เรื่อง การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการวัด ที่เรียนโดยใช้เทคนิค KWDL และ
แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ ชุด
การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการวัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3 โดยใช้เทคนิค KWDL การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย ( X ) ค่าส่วนเบี่ยงเบน
มาตรฐาน (S.D.) และค่า t-test (Dependent) ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะ ชุด การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการวัด
กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3 โดยใช้เทคนิค KWDL เมื่อนำไปจัด
การเรียนรู้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3/4 ของโรงเรียนอนุบาลพังงา พบว่า มีประสิทธิภาพ
E1 / E2 เท่ากับ 84.69/84.57 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้
2. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ก่อนและหลังเรียน ชุด การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการวัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3 โดยใช้เทคนิค KWDL พบว่า มีคะแนนการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์หลังเรียน
สูงกว่าก่อนเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้
แบบฝึกเสริมทักษะ ชุด การแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการวัด กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3 โดยใช้เทคนิค KWDL พบว่า โดยรวมนักเรียนมีความคิดเห็นอยู่ในระดับ
มาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.50 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.67 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน
พบว่า ในแต่ละด้านอยู่ในระดับมาก เช่นกัน โดยนักเรียนมีความคิดเห็นต่อด้านประโยชน์ที่ได้รับ
จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWDL สูงกว่า ด้านบรรยากาศการจัดการเรียนรู้ และ
เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เป็นลำดับแรก
รองลงมา คือ นักเรียนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้และนักเรียนสามารถแก้โจทย์ปัญหาเกี่ยวกับการวัดได้ ตามลำดับ